นายภูมิ พันธ์ศรีทุม ห้อง 933 เลขที่ 44
วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย
หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า "วิกฤตต้มยำกุ้ง"
เป็นช่วงวิกฤตการเงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงิน
![]() |
ตึกระฟ้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพที่ถูก ทิ้งร้างอันมีผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ (จาก http://nosheep.net) |
![]() |
คอนโดร้างแห่งหนึ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา
หนึ่งในอนุสรณ์ที่ยังตั้งตระหง่านเป็นอุทาหรณ์จวบจนทุกวันนี้
(จาก http://www.sarakadee.com)
|
วิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่าเงินบาทลดลง อย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทยซึ่งมี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นนายกรัฐมนตรีที่ลอยตัวค่าเงินบาทตัดการอิงเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน (financial overextension) อย่างรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนขับเคลื่อนอสังหาริมทรัพย์ โดยในวันแรกที่ประกาศลอยตัว ค่าเงินบาทขยับลงจาก 25 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงไปอยู่ที่ 32 บาท และลงไปอ่อนค่าสุดถึง 56 บาท เมื่อต้นเดือนมกราคม 2541 และทำให้ดัชนีหลักทรัพย์ดิ่งลงไปเหลือเพียง 207 จุด เท่านั้น
เหตุผลหลัก ที่ไทยต้องประกาศลอยตัวค่าเงิน เพราะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในคลังของธนาคารแห่งประเทศไทย หดหายไปจำนวนมาก จาก 4 หมื่นล้านเหรียญ เหลือเพียง 800 ล้านเหรียญเท่านั้น หลังถูกจอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินโจมตีค่าเงินบาท ระลอกแล้ว ระลอกเล่า ขณะที่หนี้ต่างประเทศก็สูงถึง 130% ของจีดีพี และในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะสั้น ดังนั้น เมื่อประกาศลอยตัว ภาระหนี้ก็พุ่งพรวดขึ้นเท่าตัว หลายบริษัทต้องปลดพนักงานและหลายแห่งต้องปิดกิจการ ในเวลานั้นประเทศไทยมีภาระหนี้สาธารณะซึ่งทำให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลายก่อนหน้าการล่มสลายของค่าเงิน และเมื่อวิกฤตดังกล่าวขยายออกนอกประเทศ ค่าเงินของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้และญี่ปุ่นก็ได้ทรุดตัวลงเช่นกัน ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง และรวมไปถึงราคาสินทรัพย์อื่น ๆ และทำให้หนี้เอกชนเพิ่มสูงขึ้น อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และไทยได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว ฮ่องกง มาเลเซีย ลาวและฟิลิปปินส์ ก็เผชิญกับปัญหา ค่าเงินทรุด เช่นกัน สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ไต้หวัน สิงคโปร์ บรูไน และ เวียดนามได้รับผลกระทบน้อยกว่า ถึงแม้ว่าทุกประเทศ ที่กล่าวมา นี้จะได้รับผลกระทบจากการ สูญเสียอุปสงค์และความเชื่อมั่นตลอดภูมิภาค
เมื่อรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย เข้ามาแทนที่ และปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IMF อย่างเคร่งครัด แม้จะเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนกลับคืนมาได้ แต่ก็โดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า “อุ้มคนรวยแต่ไม่ช่วยคนจน”เหตุผลหลัก ที่ไทยต้องประกาศลอยตัวค่าเงิน เพราะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในคลังของธนาคารแห่งประเทศไทย หดหายไปจำนวนมาก จาก 4 หมื่นล้านเหรียญ เหลือเพียง 800 ล้านเหรียญเท่านั้น หลังถูกจอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินโจมตีค่าเงินบาท ระลอกแล้ว ระลอกเล่า ขณะที่หนี้ต่างประเทศก็สูงถึง 130% ของจีดีพี และในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะสั้น ดังนั้น เมื่อประกาศลอยตัว ภาระหนี้ก็พุ่งพรวดขึ้นเท่าตัว หลายบริษัทต้องปลดพนักงานและหลายแห่งต้องปิดกิจการ ในเวลานั้นประเทศไทยมีภาระหนี้สาธารณะซึ่งทำให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลายก่อนหน้าการล่มสลายของค่าเงิน และเมื่อวิกฤตดังกล่าวขยายออกนอกประเทศ ค่าเงินของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้และญี่ปุ่นก็ได้ทรุดตัวลงเช่นกัน ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง และรวมไปถึงราคาสินทรัพย์อื่น ๆ และทำให้หนี้เอกชนเพิ่มสูงขึ้น อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และไทยได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว ฮ่องกง มาเลเซีย ลาวและฟิลิปปินส์ ก็เผชิญกับปัญหา ค่าเงินทรุด เช่นกัน สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ไต้หวัน สิงคโปร์ บรูไน และ เวียดนามได้รับผลกระทบน้อยกว่า ถึงแม้ว่าทุกประเทศ ที่กล่าวมา นี้จะได้รับผลกระทบจากการ สูญเสียอุปสงค์และความเชื่อมั่นตลอดภูมิภาค
ดังนั้นเมื่อพรรคใหม่ ไทยรักไทย เปิดตัวขึ้นมา จึงได้รับการต้อนรับจากประชาชนอย่างล้นหลาม เพราะกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่คาดว่าจะนำพาพวกเขารอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจได้ และเมื่อพันตำรวจโททักษิณ เข้ามาเป็นรัฐบาล ก็เดินหน้าเจรจา IMF ผ่อนคลายเงื่อนไขที่เข้มงวดลง ในที่สุดไทยก็สามารถใช้คืนหนี้ก่อนกำหนดถึง 2 ปี โดยแบงก์ชาติจ่ายหนี้คืน IMFงวดสุดท้าย และปลดแอกไทยจาก IMF ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2546
![]() |
ประชาชนในประเทศเกาหลีใต้ประท้วงรัฐบาลเรื่อง IMF (จาก http://www.foreignpolicy.com) |
วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทำให้ไทย ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2540 จำนวน 14,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำเงินจำนวนนี้ มาแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ และนั้นทำให้หลายคนถึงกับบอกว่า ไทยสูญเสียอธิปไตยทางเศรษฐกิจไปแล้ว IMF ได้เรียกร้องให้ไทยจัดการภาคการเงินภายใต้กฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด ให้ปิดบริษัทการเงินที่มีปัญหาให้แก้ไขกฎระเบียบเพื่อให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนได้สะดวกขึ้น และให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยกำหนดให้แปรรูปการบินไทยและบางจากภายในปี 2541
การดำเนินนโยบายดังกล่าว ทำให้เศรษฐกิจไทย และคนไทย ยิ่งแย่ลงไปอีก จนนักธุรกิจชั้นนำและบรรดาชนชั้นกลางอดรนทนไม่ไหว รวมตัวกันประท้วงบนถนนสีลม เป็นที่รู้จักกันดี ในนามม็อบสีลม กดดันให้บิ๊กจิ๋วลาออก ซึ่งก็ทำสำเร็จ ทำให้พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 แต่ความรับผิดชอบทั้งหมดกับตกอยู่ที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายเริงชัย มะระกานนท์ ผู้ซึ่งถูกศาลพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายเฉียดแสนล้านบาท
วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทุนไทยครั้งใหญ่ ทำให้เจ้าสัวเมืองไทยหายไปถึง 65% และเป็นจุดสิ้นสุดของอภิมหาธุรกิจครอบครัว เช่น บริษัททีพีไอ ธุรกิจปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ของตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ อวสานราชาแห่งชิพ “ชาญ อัศวโชค” และเกิดจุดผลิกผันครั้งใหญ่สุดกับเจ้าพ่อโรงเหล็ก สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง เจ้าของสโลแกน 3 ไม่ “ไม่มี ไม่หนี และไม่จ่าย” รวมทั้งการล่มสลายของธุรกิจครอบครัวจีนโพ้นทะเล และกลุ่มทุนเก่าในกิจการธนาคาร เช่น ธนาคารศรีนคร นครธน มหานคร และนำมาซึ่งการปิดกิจการ 56 ไฟแนนซ์
![]() |
ประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 (จาก http://th.wikipedia.org) |
ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org
http://www.sarakadee.com
http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2010/10/I9764889/I9764889.html
ข้อมูลเหล่านี้น่าสนใจ...ยังปรับปรุงได้อีก
ตอบลบ